เยียวยาก้อนแรก 1,200 ล้านบอร์ดแร่ อนุมัติประทานบัตรเหมืองแร่โพแทชอุดรฯ เดินหน้าโครงการตามมาตรการทันที “เอเซีย แปซิฟิค โปแตช คอร์ปอเรชั่น” รับทราบเงื่อนไข เตรียมเงินก้อนแรก 1,200 ล้านบาท ทยอยจ่ายเยียวยาตามกฎหมายภายใต้กองทุนดูแลชุมชน และตลอดอายุสัมปทาน 25 ปี กว่า 3,000 ล้านบาท คาดไทยได้ผลิตปุ๋ยใช้เองอีกไม่กี่ปีนับจากนี้นายนิรันดร์ ยิ่งมหิศรานนท์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า เมื่อวันที่ 21 ก.ค. 2565 ที่ผ่านมา คณะกรรมการแร่ (บอร์ดแร่) มีมติเห็นชอบการอนุญาตประทานบัตรโครงการเหมืองแร่โพแทช จ.อุดรธานี ให้กับ บริษัท เอเซีย แปซิฟิค โปแตช คอร์ปอเรชั่น จำกัด เรียบร้อยแล้ว และในวันนี้ (26 ก.ค.) ทางบริษัทได้ส่งตัวแทนเซ็นรับทราบเงื่อนไข และเอกสารแนบท้ายต่าง ๆ...
กพร.ลงนามข้อตกลงกับเอเชีย แปซิฟิค โปแตซฯ
กพร.ลงนามข้อตกลงกับเอเชีย แปซิฟิค โปแตซฯ ปฏิบัติตามมาตรการและเงื่อนไข สัญญาที่กำหนด โดยเฉพาะการจัดตั้งกองทุนเพื่อดูแลชุมชนและสิ่งแวดล้อม 11 กองทุน วงเงิน 3,500 ล้านบาท หวังเดินหน้าแก้ปัญหาการขาดแคลนปุ๋ยและปุ๋ยแพงลดต้นทุนภาคเกษตรกรรมในระยะยาว นายนิรันดร์ ยิ่งมหิศรานนท์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) เปิดเผยว่า เมื่อ 26 ก.ค. กพร.ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลง “ยินยอมปฏิบัติตามมาตรการและเงื่อนไขตามที่กฎหมายและสัญญากำหนดไว้และเงื่อนไขที่กำหนดเพิ่มเติมเป็นเงื่อนไขในประทานบัตร” กับ บริษัท เอเซีย แปซิฟิค โปแตซ คอร์ปอเรชั่น จำกัด โดยมีนายวรวุฒิ หิรัญยไพศาลสกุล ผู้จัดการใหญ่ บริษัทฯ ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลง ทั้งนี้ การลงนามในบันทึกข้อตกลงดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2565 รับทราบผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียโครงการเหมืองแร่โปแตช จังหวัดอุดรธานี และให้กระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายให้เกิดความโปร่งใส และกำกับดูแลผู้ประกอบการให้ดำเนินการตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้งชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการดำเนินโครงการ ต่อมาคณะกรรมการแร่ได้ให้ความเห็นชอบในการอนุญาตประทานบัตรเหมืองแร่โปแตช จำนวน 4 แปลง ของบริษัทฯ ในจังหวัดอุดรธานี เมื่อวันที่...
บทความพิเศษ แร่และห่วงโซ่เศรษฐกิจ
บทบาทของอุตสาหกรรม เหมืองแร่เปลี่ยนแปลงไปตามโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ แต่อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมเหมืองแร่ยังคงมีบทบาทที่สำคัญและเป็นฐานรากของการพัฒนาทางเศรษฐกิจ บทความนี้จะนำเสนอบทบาทและความสำคัญของอุตสาหกรรมเหมืองแร่ต่อระบบเศรษฐกิจไทย ในปัจจุบัน ๔ ส่วนที่สำคัญ อ่านบทความ