|
การดำเนินงานโดยภาพรวมของคณะกรรมการสภาการเหมืองแร่ |
1.
สร้างศรัทธาและความร่วมมือจากสมาชิก / ผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ ของประเทศชาติโดยส่วนรวม |
2.
ดำเนินกิจกรรมสภาการเหมืองแร่อย่างเป็นระบบ ด้วยบุคลากรที่มีความรู้
ความสามารถ โดยประมวล แนวความคิดที่สร้างสรรค์ต่ออุตสาหกรรม
ธุรกิจเหมืองแร่ และการตลาด ประสานร่วมกับหน่วยงาน ภาครัฐ
และเอกชน ตลอดจนองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อสร้างความสัมพันธ์
และเผยแพร่กิจกรรมให้สภาฯ เป็นที่รู้จัก และได้รับการยอมรับจากองค์กรต่าง
ๆ |
3.
สร้างสัมพันธ์อันดีกับหน่วยงานราชการ/ และองค์กรที่เกี่ยวข้อง
เช่น กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานการและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรมกรมป่าไม้
สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กรมทรัพยากรธรณี สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสถาบันการเงิน
เป็นต้น |
4. ประชาสัมพันธ์ผลงานและส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กรอย่างเป็นรูปธรรม
โดยประสานงาน กับหน่วยงานด้านเหมืองแร่ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในและต่าง
ประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารหรือจัดประชุมสัมมนา
พร้อมทั้งจัดทำข่าวสารสภาการเหมืองแร่ เพื่อเผยแพร่ข่าวคราว
ความเคลื่อนไหว ตลอดจนกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจ
ที่ถูกต้องเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเหมืองแร่ไปยังสมาชิก สื่อมวลชน
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง |
5. สร้างพลังจากการรวมกลุ่มและความร่วมมือของสมาชิก
/ ผู้ประกอบการ เป็นเครื่องมือในการ ต่อสู้ปัญหา |
6. ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเหมืองแร่ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการ
นำทรัพยากรแร่มาใช้ |
7. รณรงค์หารายได้แก่สภาการเหมืองแร่
เพื่อให้การดำเนินงาน 6 ข้อ ข้างต้นสัมฤทธิ์ผล |
|